คำนวณคณิตศาสตร์
เครื่องคำนวณเศษส่วน


เครื่องคำนวณเศษส่วน

ลองดูเครื่องคำนวณเศษส่วนออนไลน์ฟรีนี้ ที่สามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เช่น การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน

เศษส่วน

1

2

+

1

3

=

5

6

หรือ 0.8(3) หรือ 0.8333333333333334

+

=

เกิดข้อผิดพลาดกับการคำนวณของคุณ

สารบัญ

  1. กฎการใช้เครื่องคำนวนเศษส่วน
  2. โจทย์ที่เครื่องคำนวนเศษส่วนนี้แก้ไขได้
    1. ตัวอย่างการแก้โจทย์
  3. การดำเนินการทางคณิตศาสตร์กับเศษส่วนโดยไม่ต้องใช้เครื่องคำนวนเศษส่วน
    1. การบวกเศษส่วน
    2. การลบเศษส่วน
    3. การคูณเศษส่วน
    4. การหารเศษส่วน
    5. เศษส่วนของเศษส่วน
  4. ประเภทของเศษส่วน
    1. เศษส่วนแท้
    2. เศษส่วนเกิน
    3. เศษส่วนคละ
    4. เศษส่วนเสมือน
    5. เศษส่วนต่าง
    6. เศษส่วนเท่า
    7. เศษส่วนซ้อน
    8. เศษส่วนหน่วย

เครื่องคำนวณเศษส่วน

เครื่องคำนวณเศษส่วนเป็นเครื่องมือออนไลน์ฟรีที่แสดงวิธีดำเนินการทางคณิตศาสตร์กับเศษส่วน เครื่องคำนวณเศษส่วนช่วยเร่งกระบวนการคำนวณโดยเน้นขั้นตอนที่คุณต้องดำเนินการทางคณิตศาสตร์ บทความนี้จะกล่าวถึงวิธีการใช้เครื่องคำนวณเศษส่วนอย่างถูกต้อง รวมถึงพื้นฐานของเศษส่วน รวมถึงประเภทการบวก การลบ การคูณ การหาร ตลอดจนกฎเกณฑ์และตัวอย่างต่างๆ

เศษส่วนจะแสดงว่าคุณมีเศษส่วนจำนวนเท่าใด คุณสามารถจดจำเศษส่วนได้ด้วยเครื่องหมายทับระหว่างตัวเลขสองตัว ตัวเลขทางด้านซ้ายหรือส่วนบนเรียกว่า "ตัวเศษ" ตัวเลขทางขวาหรือส่วนล่างเรียกว่า "ตัวส่วน" ตัวอย่างเช่น \$\frac{2}{4}\$ เป็นเศษส่วนส่วนที่มี 2 เป็นตัวเศษและ 4 เป็นตัวส่วน

เศษส่วนมีหลายประเภท: เศษส่วนแท้ เศษส่วนเกิน เศษส่วนหน่วย และเศษส่วนเชิงซ้อน เศษส่วนบางรายการที่สัมพันธ์กันอาจเป็นเศษส่วนที่เท่ากัน เช่น เศษส่วน และเศษส่วนที่ไม่เหมือนกัน

กฎการใช้เครื่องคำนวนเศษส่วน

  • ใส่เศษส่วนลงในช่องที่คุณเตรียมไว้ให้ (รูปแบบเช่น \$\frac{4}{9}\$, \$\frac{25}{6}\$ หรือ \$\frac{8}{3}\$)

  • มีตัวเลือกดำเนินการมากมายที่คุณสามารถเลือกได้ ตัวดำเนินการเหล่านี้ได้แก่ การบวก การลบ การคูณ หรือการหาร คุณยังสามารถใช้ตัวดำเนินการ "ของ" เมื่อคูณเศษส่วนได้ เลือกตัวดำเนินการที่จำเป็นในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

  • หลังจากที่คุณป้อนเศษส่วนและเลือกตัวดำเนินการที่เหมาะสมแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องทำคือคลิกที่ปุ่ม "คำนวน" เพื่อแสดงคำตอบ

โจทย์ที่เครื่องคำนวนเศษส่วนนี้แก้ไขได้

ตัวแก้เศษส่วนนี้ช่วยให้คุณประหยัดเวลาที่คุณใช้ในการดำเนอนการทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง เครื่องคำนวณเศษส่วนช่วยบวกลบ คูณ หาร และค้นหาเศษส่วนของเศษส่วนอื่น

ตัวอย่างการแก้โจทย์

ด้านล่างนี้เป็นภาพประกอบที่ใช้งานได้จริงเกี่ยวกับวิธีการทำงานของเครื่องคิดเลขเศษส่วน ตัวอย่างเช่น คุณต้องการดำเนินการบวกด้วยเศษส่วนต่อไปนี้: \$\frac{2}{6}\$ และ \$\frac{1}{4}\$

เริ่มต้นด้วยเศษส่วนทางด้านซ้ายของตัวดำเนินการบวก: \$\frac{2}{6}\$ (โดยที่ 2 เป็นตัวเศษและ 6 เป็นตัวส่วน) ป้อน 2 (ตัวเศษ) ในช่องตัวเศษที่ให้มาและ 6 (ตัวส่วน) ในช่องตัวส่วน

เครื่องคำนวณเศษส่วนจะมีช่องว่างสองช่องทางด้านขวาของตัวเลือกตัวดำเนินการ เศษส่วนทางด้านขวาของตัวดำเนินการบวกคือ \$\frac{1}{4}\$ (โดยที่ 1 เป็นตัวเศษและ 4 เป็นตัวส่วน) ป้อน 1 (ตัวเศษ) ในช่องตัวเศษที่ให้มาและ 4 (ตัวส่วน) ในช่องตัวส่วน

หลังจากป้อนเศษส่วนสำเร็จและเลือกตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสม (ในกรณีนี้คือการบวก) เครื่องคำนวนเศษส่วนจะทำการคำนวนและแสดงผลลัพธ์ในช่องคำตอบ

คุณยังสามารถดำเนินการทางคณิตศาสตร์อื่นๆกับเครื่องคำนวณเศษส่วนนี้ได้ สิ่งที่คุณต้องทำคือเลือกตัวดำเนินการที่เหมาะสมกับขั้นตอนที่คุณต้องการ

สิ่งที่น่าสนใจอย่างหนึ่งเกี่ยวกับเครื่องคำนวณเศษส่วนทางคณิตศาสตร์นี้คือ มันให้คำอธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการโดยไม่ต้องใช้เครื่องคำนวนเศษส่วน

การดำเนินการทางคณิตศาสตร์กับเศษส่วนโดยไม่ต้องใช้เครื่องคำนวนเศษส่วน

การบวกเศษส่วน

1. เศษส่วนที่มีตัวส่วนร่วม

การบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากันนั้นค่อนข้างจะปราศจากความเครียดและตรงไปตรงมา คุณต้องรวมตัวเศษและคงตัวส่วนไว้เท่าเดิม

ตัวอย่างเช่น

$$\frac{5}{9} + \frac{2}{9} = \frac{(5+2)}{9} = \frac{7}{9}$$

2. เศษส่วนที่มีตัวส่วนต่างกัน

การบวกเศษส่วนที่มีส่วนต่างกันนั้นแตกต่างจากการบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน การบวกเศษส่วนที่มีตัวส่วนต่างกันจะซับซ้อนกว่า เมื่อบวกแศษส่วนที่มีตัวส่วนต่างกัน สิ่งแรกที่ต้องทำคือหาตัวส่วนร่วมของเศษส่วนทั้งสอง

คุณสามารถทำได้โดยการค้นหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) ของตัวส่วนทั้งสอง คุณยังสามารถคูณตัวส่วนและแยกเศษส่วนวได้ในภายหลัง

หลังจากที่คุณมีตัวส่วนร่วมของเศษส่วนแล้ว คุณก็สามารถบวกตัวเศษได้

ตัวอย่างเช่น

$$\frac{4}{5} + \frac{3}{7} = \frac{(4×7)}{(5×7)} + \frac{(3×5)}{(7×5)} = \frac{28}{35} + \frac{15}{35} = \frac{(28+15)}{35} = \frac{43}{35} = 1{\frac{8}{35}}$$

3. การบวกเศษส่วนคละสองตัว

วิธีหนึ่งในการบวกเศษส่วนคละสองตัวคือการแปลงเศษส่วนเกินแล้วบวกด้วยวิธีปกติ อีกวิธีหนึ่งคือการบวกจำนวนเต็มและเศษส่วนแยกจากกัน แล้วเขียนคำตอบเป็นผลรวมของทั้งสอง

การลบเศษส่วน

ขั้นตอนในกากรลบเศษส่วนจะคล้ายกับขั้นตอนในการบวกเศษส่วน เมื่อเศษส่วนมีตัวส่วนเท่ากัน คุณสามารถลบตัวเศษและคงตัวส่วนไว้เหมือนเดิม

ตัวอย่างเช่น

$$\frac{4}{5} – \frac{1}{5} = \frac{(4-1)}{5} = \frac{3}{5}$$

เมื่อแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนต่างกัน ให้ทำซ้ำขั้นตอนเดิมที่ระบุไว้ในส่วนที่แล้ว แต่คราวนี้ คุณจะลบตัวเศษแทนที่จะบวกเข้าไป ตัวอย่างเช่น

$$\frac{2}{5} – \frac{3}{10} = \frac{4}{10} – \frac{3}{10} = \frac{1}{10}$$

การคูณเศษส่วน

การคูณเศษส่วนนั้นตรงไปตรงมา สิ่งที่ต้องทำก็แค่คูณตัวเศษทั้งสองตัวเข้าด้วยกัน แล้วคูณตัวส่วนทั้งสองเข้าด้วยกัน ในบางสถานการณ์ คุณอาจต้องทำให้ผลลัพธ์ของคุณง่ายขึ้น

ตัวอย่างเช่น

$$\frac{2}{3} × \frac{5}{6} = \frac{(2 × 5)}{(3 × 6)} = \frac{10}{18}$$

คุณสามารถทำให้ตัวอย่างข้างต้นง่ายขึ้นเป็น \$\frac{5}{9}\$ ได้โดยการหารตัวเศษและตัวส่วนด้วยหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ซึ่งในกรณีนี้คือ 2

เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาการคูณเศษส่วนคละ อย่าลืมแปลงเศษส่วนคละให้เป็นเศษส่วนเกิน จากนั้นคุณสามารถคูณตั้งเศษทั้งสองเข้าด้วยกันและคูณตัวส่วนทั้งสองเข้าด้วยกันในลักษณะเดียวกับที่กล่าวไว้ข้างต้น

การหารเศษส่วน

เมื่อหารเศษส่วน คุณต้องกลับเศษส่วนทางด้านขวาของตัวดำเนินการโดยสลับตัวเศษกับตัวส่วน การทำเช่นนี้จะทำให้ตัวดำเนินการหารเปลี่ยนเป็นตัวดำเนินการคูณ ตอนนี้ตุณสามารถคูณตัวเศษทั้งสองตัวเข้าด้วยกันและคูณตัวส่วนทั้งสองตัวเข้าด้วยกันได้

ตัวอย่างเช่น

$$\frac{\frac{1}{2}}{\frac{4}{5}} = \frac{1}{2} × \frac{5}{4} = \frac{(1 × 5)}{(2 × 4)} = \frac{5}{8}$$

เศษส่วนของเศษส่วน

กระบวนการหาเศษส่วนของเศษส่วนก็เหมือนกับการคูณเศษส่วน

ตัวอย่างเช่น

$$\frac{2}{5}\ of\ \frac{4}{5} = \frac {(2 × 4)}{(5 × 5)} = \frac{8}{25}$$

ประเภทของเศษส่วน

เศษส่วนแท้

เศษส่วนที่ตัวเศษน้อยกว่าตัวส่วนถือเป็นเศษส่วนแท้ ตัวอย่างเช่น:

$$\frac{2}{3}, \frac{10}{20}, \frac{13}{57}$$

เศษส่วนเกิน

เศษส่วนเกินคือเศษส่วนที่มีตัวเศษมากกว่าตัวส่วน ตัวอย่างเช่น:

$$\frac{5}{2}, \frac{21}{10}, \frac{48}{12}$$

เศษส่วนคละ

เศษส่วนคละโดยพื้นฐานแล้วเป็นเศษส่วนเกิน มันคือผลรวมของเลขจำนวนเต็มและเศษส่วน ตัวอย่างเช่น:

$$2\frac{1}{2}, 3\frac{5}{14}, 17\frac{2}{7}$$

เศษส่วนเสมือน

เศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากันคือเศษส่วนเสมือน ตัวอย่างเช่น:

$$\frac{1}{8}, \frac{2}{8}, \frac{5}{8}$$

เศษส่วนต่าง

เศษส่วนที่มีตัวส่วนต่างกันคือเศษส่วนต่าง ตัวอย่างเช่น:

$$\frac{1}{2}, \frac{3}{7}, \frac{7}{11}$$

เศษส่วนเท่า

หากเราสามารถจัดรูปเศษส่วนให้เท่ากัน พวกมันจะถูกเรียกว่าเศษส่วนเท่า ตัวอย่างเช่น:

$$\frac{1}{3}, \frac{2}{6}, \frac{4}{12}$$

คุณสามารถจัดรูปเศษส่วนเหล่านี้ให้กลายเป็น \$\frac{1}{3}\$.

เศษส่วนซ้อน

เศษส่วนซ้อนจะมีเศษส่วนอยู่ในตัวเศษส่วน หรือทั้งสองอย่าง ตัวอย่างเช่น:

$$\frac{\frac{x+1}{x}}{\frac{x-2}{4}}$$

เศษส่วนหน่วย

เศษส่วนที่มี 1 เป็นตัวเศษและจำนวนเต็มของตัวส่วนถือเป็นเศษส่วนหน่วย ตัวอย่างเช่น:

$$\frac{1}{3}, \frac{1}{8}, \frac{1}{24}$$