ไม่พบผลลัพธ์
เราไม่พบอะไรกับคำที่คุณค้นหาในตอนนี้, ลองค้นหาอย่างอื่นดู
เครื่องคำนวณเปอร์เซ็นต์จะคำนวณเปอร์เซ็นต์ของตัวเลข เปอร์เซ็นต์เปลี่ยนแปลง และตัวเลขที่มีเปอร์เซ็นต์มาให้
Result
6 is 30% of 20
15% of 200 = 30
3500 increase 22% = 4270
9700 decrease 35% = 6305
Difference of 1 and 3 is 100%,
and 3 is a 200% increase of 1
เกิดข้อผิดพลาดกับการคำนวณของคุณ
เปอร์เซ็นต์คือร้อยละของตัวเลขจำนวนเต็ม ที่ได้มาจากการแบ่งจำนวนใดจำนวนหนึ่งออกเป็น 100 ส่วน ตัวอย่างเช่น นักลงทุนอาจต้องการจะทราบสัดส่วนของกำไรหรือขาดทุนเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่ลงทุนไป ครูอาจต้องการทราบว่านักเรียนที่สอบผ่านนั้นคิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ผู้จัดการโครงการอาจต้องการทราบว่าเงินทุนที่อัดฉีดให้กับโครงการนั้นคิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของเงินทุนทั้งหมด เปอร์เซ็นต์คือจำนวนที่เหมาะสมที่สุดในการสรุปข้อมูลดังกล่าวนี้
เมื่อนักลงทุนทุ่มเงิน $12,000 และได้รับผลกำไร $3,000 เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาลงทุน ผลกำไรที่ได้คิดเป็น \$\frac{3,000}{12,000}=\frac{1}{4}\$ ของเงินลงทุน เราสามารถเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปของเปอร์เซ็นต์ได้ด้วยการคูณด้วย 100% โดยที่ % คือเครื่องหมายเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น เราจะได้ว่า
$$\frac{3,000}{12,000} × 100\% = 25\%$$
ค่า 25% มีความหมายดังนี้ นักลงทุนทำกำไรได้ 25 ดอลลาร์ในทุก ๆ 100 ดอลลาร์ของเงินลงทุน เนื่องจาก 25 คือหนึ่งในสี่ของ 100 เราจะกล่าวว่านักลงทุนได้กำไรหนึ่งในสี่ของทุก ๆ ดอลลาร์ที่ลงทุนไปก็ได้
ดังนั้น ถ้า T คือเงินลงทุนทั้งหมด (ตัวส่วน) กำไร p คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ดังนี้
$$\frac{p}{T} × 100\%$$
ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเปอร์เซ็นต์ในบริบทของการลงทุนกัน
เราตีความหมายของค่าเปอร์เซ็นต์โดยดูจากตัวส่วนของจำนวนที่ให้ โดยในตัวอย่างข้างต้นนั้น ตัวส่วนคือจำนวนเงินลงทุนทั้งหมด ซึ่งในบริบทของการลงทุน เราจะตีความหมายของเปอร์เซ็นต์ได้ดังนี้
ให้ T เป็นเงินทุนและ A คือผลตอบแทนที่ได้ เราจะสามารถคำนวณผลกำไรได้ดังนี้
$$p = A - T$$
คิดผลกำไรเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ดังนี้
$$\frac{A-T}{T} × 100\%$$
ถ้าผลตอบแทน A น้อยกว่าเงินทุน T ค่าของ p จะติดลบ หมายความว่าเราไม่ได้รับผลกำไรใด ๆ เลย หรือขาดทุนนั้นเอง โดยเราสามารถแสดงจำนวนเงินที่ขาดทุนให้อยู่ในรูปของเปอร์เซ็นต์ได้ดังนี้
$$\frac{T-A}{T} × 100\%$$
ต่อไปนี้คือค่าต่าง ๆ ที่เครื่องคำนวณเปอร์เซ็นต์สามารถคำนวณได้
สมมุติว่านักลงทุนได้กำไร 3,000 บาทและต้องการถอนผลกำไรออกมา 20% และเก็บส่วนที่เหลือเอาไว้เพื่อลงทุนต่อ ดังนั้น จำนวนเงินที่ถอนออกมาจะมีค่าเป็น 20% ของ 3,000 ซึ่งเท่ากับ
$$\frac{20}{100} × 3,000 = 600$$
จำนวนเงินที่เก็บไว้ลงทุนต่อคือ (100%-20%)=80% ของ 3,000 ซึ่งเท่ากับ
$$\frac{80}{100} × 3,000 = 2,400$$
เครื่องคำนวณเปอร์เซ็นต์สามารถหาสองค่านี้ได้
สมมุติว่านักลงทุนทำการลงทุนไป 12,000 บาทเมื่อตอนต้นปี และลงทุนอีก 15,000 บาทตอนต้นปีหน้า เงินทุนเพิ่มขึ้นมา 3,000 บาท
$$15,000 – 12,000 = 3,000$$
เราต้องการหาเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นจากเงินทุนก้อนแรก 12,000 บาท ดังนั้น เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนคือ
$$\frac{15,000-12,000}{12,000} × 100\% = \frac{3,000}{12,000} × 100\% = 25\%$$
ดังนั้น เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 25%
เรามีเครื่องคำนวณเปอร์เซ็นต์ส่วนต่างสำหรับการหาจำนวนข้างต้น ซึ่งจะช่วยให้เราทราบว่าการตัวเลขนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลง เงิน 12,000 บาท คือเงินลงทุนก้อนแรก ดังนั้น เราจึงต้องกรอกจำนวนนี้ในกล่อง “ค่าที่ 1” และกรอก 15,000 บาท ในกล่อง “ค่าที่ 2” จากนั้นให้กดปุ่ม “คำนวณ” ผลลัพธ์จากเครื่องคำนวณคือ 25% แสดงว่าค่าเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงถ้าคุณกรอก 15,000 บาท ในกล่องแรกและ 12,000 บาท ในกล่องที่สอง เงินลงทุนก้อนที่สองจะเป็น 12,000 บาท ซึ่งลดลงมา 25% จากเงินลงทุนก้อนแรก 15,000 บาท
นอกจากนี้ ถ้าสิ้นปีแรกได้กำไร 3,000 บาท และ 2,700 บาทเมื่อสิ้นปีต่อมา แปลว่ากำไรของปีที่สองลดลง 300 บาท (3,000 บาท – 2,700 บาท) เราสามารถหาจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่ลดลงของกำไรได้โดยให้กำไรก้อนแรก 3,000 บาท เป็นจุดอ้างอิง เปอร์เซ็นต์ที่ลดลงของกำไรคือ
$$\frac{3,000-2,700}{3,000}×100\%=\frac{300}{3,000}×100\%=10\%$$
ดังนั้น กำไรลดลง 10%.
เครื่องคำนวณจะใช้ตัวเลขที่คุณกรอกในการคำนวณหาค่าเปอร์เซ็นต์ต่าง ๆ คุณจะกรอกจำนวนลบก็ได้ แต่เราแนะนำให้คุณกรอกจำนวนบวกดีกว่า เพราะจำนวนบวกนั้นทำความเข้าใจและตีความหมายได้ง่ายกว่า
หน้าเว็บมีเครื่องคำนวณ 6 เครื่องด้วยกัน บางเครื่องมีหน้าที่เหมือนกัน เครื่องคำนวณหลักคือเครื่องแรกที่คุณเห็นบนหน้าเพจ มันสามารถคำนวณทุกอย่างที่เครื่องอื่น ๆ คำนวณได้ แต่คุณจะต้องหาค่าที่ต้องใช้ในการคำนวณล่วงหน้ามาก่อน แต่เครื่องคำนวณอื่น ๆ จะใช้ง่ายกว่า ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทำการคำนวณหาค่าอะไรล่วงหน้ามาก่อน
แนวคิดในการแสดงออกถึงส่วนประกอบของสิ่งทั้งหมดในสัดส่วนเดียวกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากความต้องการทางปฏิบัติ มีต้นกำเนิดมาจากบาบิโลนโบราณ แท็บเล็ตที่เขียนด้วยอักษรคูนิฟอร์มของชาวบาบิโลนรวมถึงการคำนวณที่เกี่ยวข้องกับอัตราส่วนและเปอร์เซ็นต์ สะท้อนถึงความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ที่ก้าวหน้าของพวกเขา ชาวบาบิโลนใช้ระบบตัวเลขฐาน-60 ที่รู้จักในชื่อเซ็กซาเจซิมอลสำหรับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ของพวกเขา
นักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียใช้สัดส่วนเพื่อคำนวณเปอร์เซ็นต์ด้วยกฎสามเท่า พวกเขายังสามารถใช้ค่าเปอร์เซ็นต์ในการคำนวณที่ซับซ้อนอีกด้วย
ชาวโรมันโบราณก็มีการใช้ค่าเปอร์เซ็นต์อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน คำว่า “เปอร์เซ็นต์” นั้น แท้จริงมาจากคำว่า “โปร เซ็นตัม” ในภาษาละติน ซึ่งแปลว่า “ในหนึ่งร้อย”
ชาวโรมันเรียกเปอร์เซ็นต์ว่าเป็นผลรวมของเงินที่ลูกหนี้จ่ายให้เจ้าหนี้ในจำนวนหนึ่งร้อย รัฐสภาของโรมได้ตั้งเปอร์เซ็นต์สูงสุดที่เจ้าหนี้สามารถเรียกเก็บได้เพราะเจ้าหนี้บางคนเก็บดอกเบี้ยสูงเกินไป
ชาวโรมันส่งต่อความรู้เรื่องเปอร์เซ็นต์ให้ประเทศอื่น ๆ ในยุโรป
เนื่องจากในช่วงยุคกลางของยุโรปได้มีการพัฒนาด้านการค้าอย่างกว้างขวาง ความสามารถในการคำนวณเปอร์เซ็นต์จึงกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ในยุคนั้น ผู้คนไม่เพียงแต่จะต้องคำนวณเปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่จะต้องคำนวณเปอร์เซ็นต์ของเปอร์เซ็นต์ด้วย หรือที่เราเรียกกันว่าดอกเบี้ยทบต้นทบดอกในทุกวันนี้ แต่ละองค์กรได้พัฒนาตารางขึ้นมาเป็นของตัวเองเพื่อทำให้การคำนวณเปอร์เซ็นต์ง่ายขึ้น ซึ่งถือเป็นความลับอย่างหนึ่งขององค์กร
มีความเชื่อกันว่านักวิทยาศาสตร์ชาวเบลเยียมชื่อว่า ไซมอน สตีวิน วิศวกรจากเมืองบรูจส์เป็นผู้นำ “เปอร์เซ็นต์” มาใช้ในวิทยาศาสตร์ เขาตีพิมพ์ตารางสำหรับการคำนวณหาเปอร์เซ็นต์ในปี 1584
เครื่องหมาย % คาดกันว่าน่าจะมาจากคำว่า เซ็นโต ในภาษาละติน ที่มักจะเขียนย่อ ๆ ว่า “cto” ในการคำนวณเปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อมีการพัฒนาการเขียนตัวอักษรตัวเขียนให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ตัว t จึงกลายเป็นเครื่องหมายทับ (/) จนเราได้เครื่องหมาย % ที่ใช้กันในปัจจุบันนี้
เรื่องเล่าเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเครื่องหมายเปอร์เซ็นต์มีอีกเรื่องหนึ่งด้วย ว่ากันว่ามันเกิดขึ้นว่าเพราะช่างเรียงพิมพ์ทำงานผิดพลาดเมื่อปี 1685 “คู่มือการคำนวณทางพิณิชย์” ตีพิมพ์ออกมาโดยมีเครื่องหมาย % แทน “cto”
มนุษย์ได้ใช้เปอร์เซ็นต์มาเป็นเวลานานแล้วเพื่อคำนวณผลกำไรและขาดทุนของเงินทุก ๆ 100 หน่วย โดยหลักแล้ว เมื่อก่อนเปอร์เซ็นต์มักใช้ในการค้าขายและธุรกรรมทางการเงิน แต่หลังจากนั้นก็ได้เริ่มมีการใช้เปอร์เซ็นต์ในสาขาวิชาและสายงานอื่น ๆ ด้วย ปัจจุบันนี้ เปอร์เซ็นต์ก็ถูกใช้ในการคำนวณทางเศรษฐศาสตร์ การเงิน สถิติ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีด้วย